ออนไลน์ปลอดภัย

Fake News – ข้อมูลลวง ลวงตา ลวงใจ (ตอนที่2)

ครั้งก่อนเราได้รู้ความหมายและรูปแบบโดยคร่าว ๆ ของข้อมูลลวงกันแล้ว ตอนนี้เรามาดูกันว่าข้อมูลลวงนั้นสามารถส่งผลกระทบกับใครได้บ้าง

ที่แน่ ๆ คือคนที่เชื่อข้อมูลลวงนั้น หากเป็นข้อมูลที่ส่งผลกับชีวิต เช่นสุขภาพร่างกาย ความเจ็บป่วย การรักษาโรค ก็อาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัดสินใจผิดได้ หรือเกิดความตื่นตระหนกกับคนหรือสังคม เช่นข้อมูลลวงเกี่ยวกับโรคระบาด เป็นต้น

หลายครั้งที่ข้อมูลลวงสร้างความเกลียดชัง ความแตกแยกในสังคม แม้แต่ข้อมูลลวงที่เป็นรูปแบบของการล้อเลียน ประชดประชัน เพราะถึงแม้จะทำเพื่อความสนุกสนาน แต่หากเป็นการพาดพิงหรือเสียดสีล้อเลียนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน ก็ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ที่ถูกล้อเลียน และยังสร้างอาจความขัดแย้งระหว่างตัวบุคคล หรือกลุ่มบุคคลได้เช่นกัน

ในขณะที่การกล่าวอ้างคำพูด จะดูเหมือนไม่ผลอะไรมาก แต่ผู้ที่ถูกแอบอ้างก็อาจเกิดความเสียหาย หากถูกนำภาพไปตัดต่อกับคำพูดที่ไม่ดี หรือนำรูปภาพไปตัดต่อให้เกิดความเสียหายอื่น ๆ

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลลวงนั้นส่งผลทั้งกับผู้ที่ได้รับข้อมูลและผู้ที่ถูกแอบอ้าง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับข้อมูลลวง เราจึงควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าวเสียก่อน ดังนี้

  • ข่าว มาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือหรือ/และ มีอคติหรือไม่ และต้องหาข้อมูลจากหลายสำนักข่าวประกอบกัน ดูชื่อสำนักข่าวให้ดี เพราะอาจมีสำนักข่าวปลอมที่สร้างชื่อให้เหมือนสำนักข่าวจริง
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ให้ดูว่าข้อมูลมาจากแพทย์ที่มีอยู่จริงหรือไม่ ข้อมูลดังกล่าวมาจากหน่วยงานสุขภาพหรือโรงพยาบาลใด
  • ข้อมูลภัยพิบัติ ตรวจสอบว่ามาจากหน่วยงานใด ใช่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่
  • รูปภาพต่าง ๆ ตรวจดูว่าเป็นรูปจริง หรือรูปเก่าสมัยไหน ถ้าเปิดเจอในเว็บสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิ๊กขวาที่รูปแล้วเลือก ค้นหารูปภาพจาก google แต่ถ้าภาพมาจากที่อื่น ให้ downloadรูปก่อน แล้วค้นหาใน google ตามนี้ https://images.google.com/

การตรวจสอบแหล่งที่มาและข้อมูลเองเบื้องต้น ทำให้เราป้องกันการได้รับข้อมูลลวงได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเป็นไปได้ ก่อนจะเชื่อข่าวอาจต้องสอบถามจากผู้ที่เชี่ยวชาญหรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นโดยตรง ก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงมากกว่าข้อมูลทั่วไปจากอินเทอร์เน็ต

การแชร์ข้อมูลลวงเป็นโทษ และอาจผิดกฎหมายได้ ก่อนเชื่อก่อนแชร์ เราจึงควรตรวจสอบให้รอบด้านเสียก่อน

ด้วยความปรารถนาดีจากไทยฮอตไลน์

ครั้งก่อนเราได้รู้ความหมายและรูปแบบโดยคร่าว ๆ ของข้อมูลลวงกันแล้ว ตอนนี้เรามาดูกันว่าข้อมูลลวงนั้นสามารถส่งผลกระทบกับใครได้บ้าง

ที่แน่ ๆ คือคนที่เชื่อข้อมูลลวงนั้น หากเป็นข้อมูลที่ส่งผลกับชีวิต เช่นสุขภาพร่างกาย ความเจ็บป่วย การรักษาโรค ก็อาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตัดสินใจผิดได้ หรือเกิดความตื่นตระหนกกับคนหรือสังคม เช่นข้อมูลลวงเกี่ยวกับโรคระบาด เป็นต้น

หลายครั้งที่ข้อมูลลวงสร้างความเกลียดชัง ความแตกแยกในสังคม แม้แต่ข้อมูลลวงที่เป็นรูปแบบของการล้อเลียน ประชดประชัน เพราะถึงแม้จะทำเพื่อความสนุกสนาน แต่หากเป็นการพาดพิงหรือเสียดสีล้อเลียนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคน ก็ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ที่ถูกล้อเลียน และยังสร้างอาจความขัดแย้งระหว่างตัวบุคคล หรือกลุ่มบุคคลได้เช่นกัน

ในขณะที่การกล่าวอ้างคำพูด จะดูเหมือนไม่ผลอะไรมาก แต่ผู้ที่ถูกแอบอ้างก็อาจเกิดความเสียหาย หากถูกนำภาพไปตัดต่อกับคำพูดที่ไม่ดี หรือนำรูปภาพไปตัดต่อให้เกิดความเสียหายอื่น ๆ

จะเห็นได้ว่า ข้อมูลลวงนั้นส่งผลทั้งกับผู้ที่ได้รับข้อมูลและผู้ที่ถูกแอบอ้าง ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการได้รับข้อมูลลวง เราจึงควรตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลดังกล่าวเสียก่อน ดังนี้

  • ข่าว มาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือหรือ/และ มีอคติหรือไม่ และต้องหาข้อมูลจากหลายสำนักข่าวประกอบกัน ดูชื่อสำนักข่าวให้ดี เพราะอาจมีสำนักข่าวปลอมที่สร้างชื่อให้เหมือนสำนักข่าวจริง
  • ข้อมูลด้านสุขภาพ ให้ดูว่าข้อมูลมาจากแพทย์ที่มีอยู่จริงหรือไม่ ข้อมูลดังกล่าวมาจากหน่วยงานสุขภาพหรือโรงพยาบาลใด
  • ข้อมูลภัยพิบัติ ตรวจสอบว่ามาจากหน่วยงานใด ใช่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงหรือไม่
  • รูปภาพต่าง ๆ ตรวจดูว่าเป็นรูปจริง หรือรูปเก่าสมัยไหน ถ้าเปิดเจอในเว็บสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิ๊กขวาที่รูปแล้วเลือก ค้นหารูปภาพจาก google แต่ถ้าภาพมาจากที่อื่น ให้ downloadรูปก่อน แล้วค้นหาใน google ตามนี้ https://images.google.com/

การตรวจสอบแหล่งที่มาและข้อมูลเองเบื้องต้น ทำให้เราป้องกันการได้รับข้อมูลลวงได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเป็นไปได้ ก่อนจะเชื่อข่าวอาจต้องสอบถามจากผู้ที่เชี่ยวชาญหรือเกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นโดยตรง ก็จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงมากกว่าข้อมูลทั่วไปจากอินเทอร์เน็ต

การแชร์ข้อมูลลวงเป็นโทษ และอาจผิดกฎหมายได้ ก่อนเชื่อก่อนแชร์ เราจึงควรตรวจสอบให้รอบด้านเสียก่อน

ด้วยความปรารถนาดีจากไทยฮอตไลน์

Previous article
Fake News – ข้อมูลลวง ลวงตา ลวงใจ (ตอนที่1)
Next article
Privacy Setting