ออนไลน์ปลอดภัย

Fake News – ข้อมูลลวง ลวงตา ลวงใจ (ตอนที่1)

ความรวดเร็วของข่าวสารทุกวันนี้ ทำให้ข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ ถูกบิดเบือนได้โดยง่าย หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Fake News มาก่อน มาดูความหมายและรูปแบบของ Fake News กัน

Fake News นั้นถ้าแปลตรงตัวมันก็คือข่าวเท็จ แต่คำนี้ไม่ได้หมายถึง “ข่าว” แต่อย่างเดียว ยังหมายถึง “ข้อมูล” ต่างที่เป็นเรื่องที่ไม่จริงและถูกบิดเบือนให้ผิดไปจากความเป็นจริง

ข้อมูลลวงมีหลายรูปแบบที่สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

• ข้อมูลลวงในรูปแบบการล้อเลียน ประชดประชัน เช่น เพจล้อเลียน หรือรูป meme ที่นำมาล้อเลียนเขียนข่าวกันเล่น รูปแบบนี้มักจะเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน ผู้ที่เห็นก็รู้ได้ว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

  • ข้อมูลลวงในรูปแบบการล้อเลียน ประชดประชัน เช่น เพจล้อเลียน หรือรูป meme ที่นำมาล้อเลียนเขียนข่าวกันเล่น รูปแบบนี้มักจะเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน ผู้ที่เห็นก็รู้ได้ว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น
  • ข้อมูลลวงในรูปแบบของการแอบอ้าง เช่น รูปประกอบคำคมกับบุคคลดังทั้งที่บุคคลดังกล่าวไม่เคยพูดเลย เพื่อทำมาเรียกยอดไลก์ ยอดติดตามเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการอ้างอิงงานวิจัยเพื่อประกอบการขายสินค้าของตัวเอง ทั้งที่ความจริงไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
  • ข้อมูลลวงที่มีความจริงอยู่บางส่วน เช่น รูปภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจริง แต่สถานที่ไม่จริง หรือช่วงเวลาไม่จริง (เอารูปเก่ามาเล่าใหม่) เป็นต้น ข้อมูลนี้ทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลเชื่อถือได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือเคยเกิดขึ้นจริงมาก่อน เพียงแต่เรื่องอื่น ๆ ไม่ถูกต้องเท่านั้น
  • ข้อมูลลวงที่ที่ไม่มีความจริงปะปนอยู่เลย เป็นความมโนของผู้สร้างข้อมูลล้วน ๆ อาจทำเพื่อความสนุกสนาน หรือผลประโยชน์แอบแฝง เช่น เนียนขายของ หรือขอรับบริจาคเป็นต้น
  • ข้อมูลลวงในรูปแบบการของตัดต่อ ไม่ว่าจะตัดต่อรูปภาพ คลิปเสียง คลิปวีดีโอ เพื่อชักจูงให้ผู้คนเข้าใจผิด เข้าข้างหรือใส่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

รู้จักกับรูปแบบของข้อมูลลวงแล้ว ตอนต่อไปจะว่าถึงผลกระทบและวิธีป้องกันข้อมูลลวงอย่าให้มาล้วงใจเรา

ความรวดเร็วของข่าวสารทุกวันนี้ ทำให้ข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ ถูกบิดเบือนได้โดยง่าย หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Fake News มาก่อน มาดูความหมายและรูปแบบของ Fake News กัน

Fake News นั้นถ้าแปลตรงตัวมันก็คือข่าวเท็จ แต่คำนี้ไม่ได้หมายถึง “ข่าว” แต่อย่างเดียว ยังหมายถึง “ข้อมูล” ต่างที่เป็นเรื่องที่ไม่จริงและถูกบิดเบือนให้ผิดไปจากความเป็นจริง

ข้อมูลลวงมีหลายรูปแบบที่สามารถแบ่งคร่าว ๆ ได้ดังนี้

• ข้อมูลลวงในรูปแบบการล้อเลียน ประชดประชัน เช่น เพจล้อเลียน หรือรูป meme ที่นำมาล้อเลียนเขียนข่าวกันเล่น รูปแบบนี้มักจะเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน ผู้ที่เห็นก็รู้ได้ว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น

  • ข้อมูลลวงในรูปแบบการล้อเลียน ประชดประชัน เช่น เพจล้อเลียน หรือรูป meme ที่นำมาล้อเลียนเขียนข่าวกันเล่น รูปแบบนี้มักจะเป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อความสนุกสนาน ผู้ที่เห็นก็รู้ได้ว่าไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องที่ทำขึ้นเพื่อความบันเทิงเท่านั้น
  • ข้อมูลลวงในรูปแบบของการแอบอ้าง เช่น รูปประกอบคำคมกับบุคคลดังทั้งที่บุคคลดังกล่าวไม่เคยพูดเลย เพื่อทำมาเรียกยอดไลก์ ยอดติดตามเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการอ้างอิงงานวิจัยเพื่อประกอบการขายสินค้าของตัวเอง ทั้งที่ความจริงไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
  • ข้อมูลลวงที่มีความจริงอยู่บางส่วน เช่น รูปภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจริง แต่สถานที่ไม่จริง หรือช่วงเวลาไม่จริง (เอารูปเก่ามาเล่าใหม่) เป็นต้น ข้อมูลนี้ทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลเชื่อถือได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหรือเคยเกิดขึ้นจริงมาก่อน เพียงแต่เรื่องอื่น ๆ ไม่ถูกต้องเท่านั้น
  • ข้อมูลลวงที่ที่ไม่มีความจริงปะปนอยู่เลย เป็นความมโนของผู้สร้างข้อมูลล้วน ๆ อาจทำเพื่อความสนุกสนาน หรือผลประโยชน์แอบแฝง เช่น เนียนขายของ หรือขอรับบริจาคเป็นต้น
  • ข้อมูลลวงในรูปแบบการของตัดต่อ ไม่ว่าจะตัดต่อรูปภาพ คลิปเสียง คลิปวีดีโอ เพื่อชักจูงให้ผู้คนเข้าใจผิด เข้าข้างหรือใส่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

รู้จักกับรูปแบบของข้อมูลลวงแล้ว ตอนต่อไปจะว่าถึงผลกระทบและวิธีป้องกันข้อมูลลวงอย่าให้มาล้วงใจเรา

Previous article
Phishing email รู้จักไว้ ไม่ตกเป็นเหยื่อ
Next article
Fake News – ข้อมูลลวง ลวงตา ลวงใจ (ตอนที่2)